ระบบกันซึมมี่กี่ประเภท? ควรเลือกใช้แบ่งตามลักษณะหน้างานอย่างไร?

Last updated: 9 ธ.ค. 2567  |  653 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ระบบกันซึมมีกี่ประเภท

ระบบกันซึม เป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน โดยเฉพาะส่วนหลังคา ผนังอาคาร ห้องน้ำและพื้นดาดฟ้า แต่ละประเภทนั้น ควรเลือกใช้ตามความแตกต่างตามลักษณะของหน้างาน โดยทั่วไปๆสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. ระบบกันซึมหลังคาและผนังอาคาร ควรมีความทนทานต่อแสงแดดสูง ยืดหยุ่นตามโครงสร้าง เนื่องจากอยู่ภายนอกอาคาร ต้องเจอกับสภาพอากาศทั้งแดดและฝน

อะคริลิคโพลิเมอร์  เมื่อแห้งแล้วมีลักษณะเป็นแผ่นยาง มีสีตามที่เลือก กันน้ำได้ 100% 
ข้อดี: ใช้งานง่าย ทนทานต่อแสงแดดสูง ยืดหยุ่น ไม่มีสารปรอทและตะกั่ว สามารถทาสีทับได้ (สีขาว จะสามารถทาสีทับใดๆทับได้ง่าย)
ข้อเสีย: ไม่เหมาะสำหรับพื้นที่อาจมีน้ำขัง หรือสัมผัสน้ำตลอดเวลา

อะคริลิคโพลิเมอร์สังเคราะห์ (แบบใส) เมื่อแห้งแล้วมีลักษณะเป็นฟิล์มเคลือบใส เหมาะสำหรับพื้นที่ไม่ต้องการให้มีสี
ข้อดี: ใช้งานง่าย ทนทานต่อแสงแดดสูง ยืดหยุ่น ไม่มีสารปรอทและตะกั่ว 
ข้อเสีย: อาจระคายเคืองต่อผิวหนัง ไม่เหมาะสำหรับพื้นที่อาจมีน้ำขัง หรือสัมผัสน้ำตลอดเวลา

แผ่นแปะหลังคา  ผลิตจากยางบิวทิล ปิดผิวหน้าด้วยฟลอยด์สะท้อนแสงสีเงิน
ข้อดี: ติดตั้งไว ใช้งานง่าย ราคาถูก ความหนาของระบบกันซึมเท่ากันทั้งหมด เนื่องจากทุกแผ่นมีความหนาเท่ากัน
ข้อเสีย: เสื่อมสภาพง่าย หากมีการเจาะรูซ่อมภายหลังจะซ่อมแซมยาก


2. ระบบกันซึมพื้นคอนกรีตดาดฟ้า ระเบียง ห้องน้ำ สระว่ายน้ำ ควรมีความทนทานต่อแสงแดด และพื้นที่เปียกชื้น ยืดหยุ่นตามโครงสร้าง มีทั้งใช้ภายในและภายนอก

ยางมะตอย มีลักษณะเป็นของเหลวสีดำ เมื่อแห้งแล้วจะเหมือนยางสีดำ 
ข้อดี: ใช้กับพื้นผิวได้หลายประเภท เช่น หลังคา ผนัง คอนกรีต รั้วไม้ เป็นต้น
ข้อเสีย: เสื่อมสภาพง่าย ทนทานต่อแสงแดดน้อย ระคายเคืองต่อผิวหนัง

ซีเมนส์เบส เป็นการผสมกันระหว่าง ซีเมนส์ และอะคริลิค  แห้งจะมีลักษณะคล้ายแผ่นยาง
ข้อดี: ทนทานต่อแสงแดด และพื้นที่เปียกชื้น สามารถเทคอนกรีตหรือปูกระเบื้องทับหน้าได้ ปลอดสารพิษสามารถใช้กับบ่อน้ำและบ่อปลาได้
ข้อเสีย: ใช้สำหรับพื้นคอนกรีตเท่านั้น

 อย่างไรก็ตาม ระบบกันซึมที่ดี ต้องมีการติดตั้งอย่างถูกต้องตามขั้นตอน และสำคัญที่สุดอยู่ที่การเตรียมพื้นผิวให้สะอาด เหมาะแก่การทำกันซึม เช่น หากเป็นหลังคา จะต้องมีการฉีดล้างทำความสะอาด ทารองพื้นเพิ่มการยึดเกาะ อาจมีการวางผ้าตาข่าย เสริมแรงในบางกรณี และตรวจเช็คองศาหลังคาให้เหมาะสมด้วย

หากเป็นพื้นคอนกรีตดาดฟ้า พื้นระเบียง ห้องน้ำ สระว่ายน้ำ จะต้องมีการปรับพื้นผิวให้เรียบเสมอกันก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแอ่งน้ำขังได้ ปรับระดับความลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลออกได้ง่ายในบางกรณี

และนอกจากนี้ ช่างที่ติดตั้งจะต้องเข้าใจระบบการทำงานของกันซึมแต่ละชนิดอย่างถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ มีประสบการณ์ในการทำงาน เพื่อให้ได้ผลงานที่มีอายุการใช้งานยาวนานเต็มประสิทธิภาพ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้